กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) เป็นผลงานในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มีลักษณะการแต่งเป็นกาพย์ผสมกับโคลงสี่สุภาพ และมีความงามทางภาษา
ที่มา กาพย์เห่เรือนี้สันนิษฐานว่าทรงพระราชนิพนธ์ เพื่อชมฝีพระหัตถ์ในการแต่งเครื่องเสวยของสมเด็จพระศรี สุริเยนทราบรมราชินี จุดมุ่งหมายในการแต่ง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน มีจุดมุ่งหมายในการแต่ง ดังนี้ 1. เพื่อเป็นบทเห่เรือพระที่นั่งเวลาเสด็จประพาสส่วนพระองค์ 2. เพื่อชมฝีพระหัตถ์ในการปรุงเครื่องเสวยของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ลักษณะคำประพันธ์ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานแต่งตามกาพย์เห่เรือ คือ แต่งเป็นโคลงผสมกาพย์ ตอนต้นเป็นโคลงสี่สุภาพ 1 บท ตามด้วยกาพย์ยานี 11 ไม่จำกัดจำนวนกาพย์ยานี บทแรกจะเลียนความจากโคลงสี่สุภาพตอนต้น เนื้อเรื่องย่อ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานกล่าวถึงอาหารคาวทั้ง 15 ชนิด คือ แกงมัสมั่นไก่, ยำใหญ่, ตับเหล็กลวก, หมูแนม, ก้อยกุ้ง, แกงเทโพ, น้ำยา, แกงอ่อม, ข้าวหุงเครื่องเทศ, แกงคั่วส้ม, พล่าเนื้อ, ล่าเตียง, หรุ่ม, ไตปลา, แสร้งว่า และอาหารหวานอีก 1 ชนิด คือ รังนก เมื่อกล่าวถึงอาหารชนิดใด กวีจะพรรณนาเชื่อมโยงไปถึงหญิงคนรัก |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น